วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปลากระเบน

ปลากระเบน (อังกฤษStingray, Ray) คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii[2]
มีประมาณ 400 ชนิด[2] พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอยกุ้งปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่[3]
แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย [1]
ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่้อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเ็ผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม





ปลากระพง


ปลากะพงขาว (อังกฤษBarramundi, Silver perch, White perchชื่อวิทยาศาสตร์Lates calcarifer) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 กิโลกรัมโดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด[1]
พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มี[2]เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า
เป็นปลาเศรษกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น แปะซะนึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลากะพงขาว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากะพงน้ำจืด" ขณะที่ชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "ปลาโจ้โล้




ปลาวาฬ


วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า ปลาวาฬ (อังกฤษWhale) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา[1] แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea)
บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น
วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง
วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9เมตร[2]
วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น[3]
วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนักหาก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประัสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ[4] นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักชิากรพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง[5] และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ[6]
วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล[7] แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยขนาดใหญ่ทั่วไป[8] วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง[8]




ปลาฉลาม


ปลาฉลาม (อังกฤษShark; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม[1]

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]การแบ่ง

ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17 เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึง ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[2]
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับOrectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามบาสกิ้น (Cetorhinus maximus)
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ Clasper แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้

[แก้]ความสำคัญ

ปลาฉลามมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภคเป็นอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีนที่เรียกว่า "หูฉลาม" ซึ่งทำมาจากครีบของปลาฉลาม จัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง ทำให้มีการล่าฉลามในการนี้จนเกือบจะสูญพันธุ์ในหลายชนิด[3] และยังนิยมในการตกปลาเป็นเกมกีฬาอีกด้วย
สำหรับในน่านน้ำไทย ในทะเลอันดามันมีการสำรวจพบปลาฉลามแล้วประมาณ 41 ชนิด [4]




ปลาช่อน


ปลาช่อน (อังกฤษCommon snakehead, Chevron snakehead, Striped snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striata อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร
โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้,พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง[1] เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ
ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา
ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "หลิม" ในภาษาเหนือ "ค้อ" หรือ "ก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น




ปลาดุก


ปลาดุก (อังกฤษWalking catfish) เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืดในสกุล Clarias (/คลา-เรียส/) ในวงศ์ Clariidae
มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน[1] สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วยเป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย







วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปลาทูน่า


ปลาทูน่า (อังกฤษ: Tuna; ญี่ปุ่น: マグロ) หรือ ปลาโอ ในภาษาไทย เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุล Thunnus จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋องหรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซูชิ
ปลาทูน่า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดหาง 458เซนติเมตร น้ำหนัก 684 กิโลกรัม โดยปลาทูน่าจัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เพราะมีรูปร่างเหมือนตอร์ปิโด สามารถว่ายน้ำได้เร็ว 70-74 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[1]






[แก้]