ประวัติ


ปลา (อังกฤษFish, กรีก: Ichthys, ละติน: Pisces) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาวโลมาวาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ลักษณะทั่วไป

ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้เป็นชั้นใหญ่ ๆ ดังนี้
  1. ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
  2. ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนันปลาฉนากปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
  3. ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
  4. ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์ปลาปอด เป็นต้น
  5. ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ
ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

[แก้]ลักษณะทางกายวิภาค

ดูบทความหลักที่ กายวิภาคของปลา
ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวณก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในชนิดต่าง ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่น ครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตีน เพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสรเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบด้วย
  • ปาก
  • จมูก
  • ดวงตา
  • กระพุ้งแก้ม
  • ครีบหู
  • ครีบท้อง
  • ครีบหลัง
  • ครีบก้น
  • ครีบหาง
  • ช่องก้น
  • เส้นข้างลำตัว
มีซึ่งนอกจากครีบแล้วปลายังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่มีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ได้แก่ เส้นข้างลำตัวเกล็ด เป็นต้น

[แก้]วิวัฒนาการ

ดูบทความหลักที่ ปลายุคก่อนประวัติศาสตร์
ภาพวาดปลาที่มีเกล็ดหนาหุ้มตัวที่เรียกว่า "ออสตราโคเดิร์ม" ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว (รูปด้านบน) ภาพวาดของ "ปลามีเกราะ" หรือ "พลาโคเดิร์ม" ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้วเช่นเดียวกัน (รูปด้านล่าง)
ปลาจัดได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกแรกที่ถือกำเนิดมาบนโลกและปัจจุบันก็ยังถือได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายและจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้จัดประเภทของปลาได้เป็นชนิดแล้วในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 25,000 ชนิด และยังมีชนิดใหม่ ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ทั้งจากน้ำจืดและทะเล
ปลาถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกสันหลัง เรียกว่า แอมฟิออกซัส และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว อาศัยและแหวกว่ายในทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงปรากฏมีปลากระดูกอ่อนเกิดขึ้นมา พร้อมกับวิวัฒนาการของปลากระดูกแข็งและปลาน้ำจืดต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน

[แก้]แหล่งที่อยู่อาศัย

ปลาเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น โดยพบได้ทั้งแหล่งน้ำจืดน้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลำธารเชิงเทือกเขาหิมาลัยที่สูงกว่า 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล, ในถ้ำที่มืดมิดไร้แสง จนถึงแม่น้ำ หนองบึงต่าง ๆ ทะเลสาบบนปากปล่องภูเขาไฟ จนมาถึงชายฝั่งทะเลไหล่ทวีป จนถึงใต้ทะเลที่ลึกกว่าหมื่นเมตร แสงไม่อาจส่องไปได้ถึง
ซึ่งปลาจะปรับรูปร่างและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน เช่น ปลาอะโรวาน่า หรือปลาเสือพ่นน้ำ ที่เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ก็จะมีลักษณะปากที่เฉียงขึ้นด้านบนเพื่อถนัดในการจับแมลงเป็นอาหาร ขณะที่ปลากระเบน ซึ่งเป็นปลาหากินบริเวณพื้นน้ำ ก็จะมีปากอยู่บริเวณด้านล่างลำตัวจะมีฟันเป็นแบบแทะเล็ม หรือกลุ่มปลาทูน่า จะมีสีบริเวณหลังเป็นสีคล้ำ แต่ขณะที่ด้านท้องจะเป็นสีจางอ่อน เพื่อใช้สำหรับพรางตาเมื่อมองจากบนผิวน้ำและใต้น้ำให้พ้นจากนักล่า เป็นต้น

[แก้]ความสัมพันธ์กับมนุษย์

สัญลักษณ์แทนราศีมีน ซึ่งเป็น 1 ใน 12จักรราศีทางโหราศาสตร์ที่เป็นรูปหางปลาคู่ผูกเข้าด้วยกัน
ปลาเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยใช้เนื้อเป็นอาหารหลัก มีหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มากมาย ที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการจับหรือล่าปลาเป็นอาหาร เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ในจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย มีภาพเขียนสีที่เป็นรูปปลาบึก[1] [2]
เนื้อปลายังถือได้ว่าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ด้วยอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบถ้วน เช่น เกลือแร่แคลเซียมฟอสฟอรัส และวิตามินชนิดต่าง ๆ ทั้ง วิตามินดี, วิตามินเอ เป็นต้น อีกทั้งไขมันในเนื้อปลายังถือว่าเป็นไขมันที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เพราะเป็นกรดไขมันประเภท โอเมกา 3 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย จึงเหมาะมากโดยเฉพาะกับทารกและผู้สูงอายุ[3]
ความที่ปลาผูกพันกับมนุษย์มานาน จนเกิดเป็นประเพณีและความเชื่อในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ อาทิ ชาวอีสานหรือชาวลาวก่อนจะทำการล่าปลาบึกจะมีการทำพิธีบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์[1] หรือเป็นปกรณัมต่าง ๆ เช่น พระวิษณุที่อวตารเป็นปลากรายทองเพื่อทำการปราบทุกข์เข็ญ ในจักรวาลตามความเชื่อของพุทธศาสนา เชื่อว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพราะมีปลาใหญ่ที่หนุนโลกอยู่ขยับตัว คือ ปลาอานนท์ ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายคลึงกับความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อว่ามีปลาดุกขนาดใหญ่ ชื่อ นะมะสุ (鯰) เคลื่อนตัว เป็นต้น[4][5][6]
นอกจากนี้แล้ว ในทางการศึกษา ศาสตร์ที่เกี่ยวกับปลาโดยเฉพาะ จะเรียกว่า มีนวิทยา และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ประเภทนี้ว่า นักมีนวิทยา ซึ่งในประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง ประเทศไทย ก็มีคณะต่าง ๆ ในสถาบันอุดมศึกษาก็มีการเปิดสอนภายใต้ชื่อต่าง ๆ เช่น คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, สาขาวิชาเทคโนโลยีทางทะเล หรือ สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
ปลายังถือได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ถูกเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่ยุคสุเมเรียน คือ ปลาไนที่เพาะเลี้ยงกันในบ่อ และยังมีการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินใจด้วย ได้แก่ปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากัดปลาทองปลาปอมปาดัวร์ปลาการ์ตูน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น