ปลาที่มีขากรรไกร Gnathostomata
เนื่องจากปลาในยุคก่อน เป็นปลาไม่มีขากรรไกร และไม่มีครีบคู่ทำให้ปลาไม่คล่องตัวและมีการกินอาหารแบบกรอง หรือดูดกินเดือดสิ่งมีชีวิต ดังเช่น แลมเพรย์ และเฮคฟิช ดังที่กล่าวมาในเรื่องปลาไม่มีขากรรไกร เหตุนี้ในช่วงยุคต่อมา ปลาที่ไม่มีขากรรไกรเหล่านั้นจึงมีวิวัฒนาการ ของขากรรไกรและครีบคู่ ทำให้มีขากรรไกรเกิดขึ้น ขากรรไกรนี้ช่วยให้ปลากินอาหารได้หลากมากขึ้น ครีบคู่ร่วมกับการวิวัฒนาการร่างกายให้เพรียวขึ้น ( streamline ) และการลดขนาดของเกล็ดลงทำให้ลำตัวเบาขึ้น จึงเคลื่อนที่ได้คล่องขึ้น และยังใช้ครีบคู่ในการทรงตัวอยู่นิ่งในน้ำได้ ฉะนั้น ปลาที่มีชีวิตอยู่ทั้งหมดในปัจจุบันนี้ถือเป็นปลามีขากรรไกร ยกเว้นแลมเพร์ยและแฮคฟิชที่ยังคงเผ่าพันธุ์ ุซึ่งปลามีขากรรไกรนี้ ก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ ปลากระดูกอ่อน ( Chondrichyes ) มีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อน และปลากระดูกแข็ง ( Osteichthyes ) มีโครงร่างเป็นกระดูกแข็ง ซึ่งจะได้ศึกษาในเรื่องต่อไป |
|
ปลาจำพวกปลากระดูกอ่อน
ปลาจำพวกปลากระดูกแข็ง
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น