เราสามารถพบปลาได้หลายแห่งในทั่วทุกแหล่งน้ำในโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย หรือในทะเล ไม่ว่าแหล่งน้ำนั้นจะมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำหรือแม้แต่ในมหาสมุทรที่ระดับน้ำ ลึกมากจนแสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึงก็ยังสามารถพบปลาได้
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างอุปกรณ์อัน
ทันสมัยมากมายที่จะดำน้ำลงไปด้วยชุดประดาน้ำ
หรือลงไปกับเรือดำน้ำเพื่อถ่ายรูปและศึกษาปลาที่อยู่ในธรรมชาติใต้น้ำได้
อย่างปลอดภัย การศึกษาเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจถึงสีสันและขนาดที่มีความแตกต่างระหว่างเพศ
ผู้และเพศเมียของปลาหลายชนิด ซึ่งครั้งหนึ่งเราเคยคิดว่ามันเป็นปลาคนละชนิดกัน
การสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยและจำนวนชนิดของปลา
ทำให้เราประมาณได้ว่าในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีปลาน้ำจืดประมาณ 41% แม้ว่าน้ำจืดจะมีปริมาตรเพียง
1% ของพื้นที่ผิวโลก เหตุผลที่พอจะอธิบายได้ก็คือน้ำจืดเป็นแหล่งน้ำเล็กๆ
ที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในโลก
ทำให้ปลาแต่ละชนิดได้อาศัยอยู่อย่างอิสระและแยกตัวจากกัน
ซึ่งจะมีผลต่อวิวัฒนาการของปลา
ทะเลก็เป็นเสมือนปราการกั้นการแพร่กระจายของปลาน้ำจืด
แต่ก็มีปลาบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งในสภาพน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล
เรียกว่า ปลาสองน้ำ ตัวอย่างเช่น ปลาแซลมอน ปลาแบส
และปลาตูหนาซึ่งชาวไทยเรียกว่าปลาไหลทะเล แต่ชาวต่างประเทศเรียกว่า Freshwater Eel ทั้งนี้ก็เพราะปลาชนิดนี้สืบพันธุ์และวางไข่ในทะเล
แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายน้ำเข้ามาใช้ชีวิตในน้ำจืด
ประมาณ 97% ของน้ำในโลกเป็นน้ำทะเล อีก 1% เป็นน้ำจืด อีก 2% เป็นธารน้ำแข็งและไอน้ำในบรรยากาศ
น้ำส่วนมากเป็นแหล่งน้ำเปิดที่อยู่ภายใต้ความกดดัน
ความแห้งแล้งและความอุดมสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน มหาสมุทรมีความลึกเฉลี่ย ประมาณ 4,000 เมตร
แต่เนื้อที่ส่วนใหญ่เกือบ 98% จะมีความลึกต่ำกว่า 100 เมตร
ซึ่งเป็นความลึกที่สุดที่แสงสามารถส่องลงไปในปริมาณที่เพียงพอแก่การเจริญ
เติบโตของพืชได้ ในระดับน้ำที่ลึกกว่า 1,000 เมตรลงไป จะมีแต่แสงสีม่วงเท่านั้นที่สามารถส่องลงไปถึงได้
แต่ในความลึกระดับนี้ก็ยังพบว่ามีปลาอาศัยอยู่ถึง 2% เท่านั้นแต่ในแหล่งน้ำบริเวณที่ราบตามไหล่ทวีป
ลาดทวีป ใกล้ชายฝั่งจะพบปริมาณปลามากถึงเกือบ 44% ของปริมาณปลาทั้งหมด
เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีอาหารและแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์
มีการประมาณว่าในแต่ละปีปริมาณปลาที่จับได้จากมหาสมุทรทั่วโลกมีมากถึง 70 ล้านเมตริกตัน
ส่วนใหญ่เป็นปลาที่หากินตามชายฝั่งในเขตอบอุ่น อีกประมาณ 30% ของปริมาณปลาทั้งหมดเป็นปลาที่หากินตามแนวปะการัง?
ปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพและการแพร่กระจายของปลา
ปัจจัยทางนิเวศน์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
และการแพร่กระจายของปลา ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ แสงสว่าง ความเป็นกรด
เป็นด่างของน้ำ อาหารทางธรรมชาติ มลพิษจากโรงงาน และชุมชน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น